วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 13

วันเสาร์ ที่ 15 มกราคม 2554

(นัดชดเชยจากการเรียนในวันปกติ)

อาจารย์ทบทวบต่อ
ความรู้ :
เรื่อง
ความหมายด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจต์
  • ความรู้ทางด้านกายภาพ
  • ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

  • การนับ
  • ตัวเลข
  • การจับคู่
  • การคำนวณ
  • การเปรียบเทียบ
  • การจัดลำดับ
  • รูปทรงเเละเนื้อที่
  • การวัด

หลักการสอนคณิตศาสตร์เเก่เด็กปฐมวัย

สอดเเทรกความคิกเห็น :

การมีส่วนร่วมในบ้าน การให้ความรู้กับผู้ปกครอง เป็นจุลสาร สานสัมพันธ์ เเบบกิจกรรม เเบบงานให้เด็กกลับไปทำกับผู้ปกครอง ทำให้เกิดองคืความรู้ เพราะคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา

เพลงจะสอดเเทรก เรียงลำดับกิจกรรม , การนับ เดือน วันในหนึ่งสัปดาห์ , เครื่องมือ

เพลง....สวัสดียามเช้า

ตื่นเช้าเเปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำมาเเต่ตัว

กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

สวัสดีคุณเเม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา

หลั่นล้า หลั่นล้า

เพลง...สวัสดีคุณครู

สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน

ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

เพลง...หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ

พฤหัส ศุกร์ เสาร์

เพลง....เข้าเเถว

เข้าเเถว เข้าเเถว อย่าล้ำเเนวยืนเรียงกัน

อย่ามัวเเชเชือนดินตามเพื่อนทัน ระวังเดินชนกันเข้าเเถวพลันว่องไว

เพลง...จัดเเถว

สองมือเราชูตรง เเล้วเอาลงมาเสมอกันกับบ่า

ต่อไปย้ายไปข้างหน้า เเล้วเอาลงมาอยู่ใท่ยืนตรง

เพลง...ซ้าย -ขวา

ยืนให้ตรงก้มหัวลงตบมือเผละ

เเขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นเเหละ

ได้เวลาตื้นนอนหรือยังนะ ?

มันยังมืดตึ๊ดตื๋ออยู่เลย...ต๊องหน่อง

พี่ชายฉัน ตื่นนอนหรือยังเอ่ย ?

(เวลา , การคิดอย่างมีเหตุผล)

รับประทานอาหารเช้า / เเละช่วยให้อาหารเเมว

ต้องไม่ให้มากเกินไป / พอหรือยังนะ ?

(การคาดคะเนปริมาณ,การเปรียบเทียบ)

จัดเก็บเสื้อผ้าเเละใส่ตู้ให้ถูกที่

(การจัดประเภทการจับคู่เเละการตัดสินใจ)

พาต๊องโหน่งไปโรงเรียน / เดินไปที่มุมถนน

เเล้วข้ามที่สัญญาณไฟ

(ทิศทาง,ขนาดเเละเงิน)

จัดเก็บของ /อะไรต้องใส่ช่องเเช่เเข็งบ้าง

มะเขือเทศเก็บที่ไหนดี

(การจัดประเภท)

ดูโทรทัศน์เเล้วเล่นตุ๊กตาหมีเเล้วเล่นจิ๊กซอว์

จนถึงเวลาอาหาร

(การนับ , ขนาด , รูปทรง , เวลา)

หลังอาหารกลางวัน / เราไปสวนสาธารณะ

เล่นเเยกประภทใบไม้ / นับจำนวนเป็ด

เตะลูกบอล / มองเวลา

(การจัดประเภท , การนับ , รูปทรง)

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 13 มกราคม 2554

อาจารย์มอบหมายงาน
-เเบบฝึกหัด
-สื่อ คณิตศาสตร์พาเพลิน

บันทึกครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดี ที่ 6 มกราคม 2554

ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์_คณิตตามหลักของเพียเจท์ มี 2 ทาง

1.ทางกายภาพ คือ จากประสาทสัมผัส ปฏสัมผัสสิ่งแวดล้อมโดยตรง

2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เกิดขึ้นภายในจากการเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฏีโดยการลงมือกระทำที่เป็นผลสะท้อน (จะเกิดขึ้นขึ้นหลังเด็กลงมือกระทำกิจกรรม)โดยอาศัยความเชื่อมโยงจากข้อเท็จจริงที่เห็นไปสู่ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดต่อไป (เกิดสติปัญญา)

ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต้องอาศัยการจัดกิจกรรมที่มีการวางแผน และต้องเตรียมการอย่างดีจากครูเพื่อให้โอกาสเด็กค้นคว้าแก้ไขปัญหา ได้เรียนรู้พัฒนาความคิดรวบยอด เกิดทักษะในความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

สาระ คือเนื้อหา สิ่งที่อยู่รอบตัว

จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ

- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ขอบข่ายคณิตศาสตร์การนับ ,ตัวเลข, จัดลำดับ, รูปทรงและพื้นที่, การวัด

หลักการสอน

1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน(สอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน) ให้เด็กมองเห็นความจำเป็น 2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้"พบคำตอบด้วยตนเอง"

3.มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก

บันทึกครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดี ที่ 30 ธันวาคม 2553

* ปิดวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

บันทึกครั้งที่ 8 -9

เป็นอาทิตของการสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 2
ไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่ 6-7

ตั้งเเต่วันที่ 29 พฤศจิกายน - วันที่ 14 ธันวาคม 2553
นักศึกษาปี 3 ออกสังเกตการณ์ Practicum 1































บันทึกครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2553

ไม่มีการเรียนการสอน
(เนื่องจากอาจารย์ติดประชุมด่วน)

บันทึกครั้งที่ 4




วันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤศจิกายน 2553

วางเเผนเเละออกไปศึกษาดูงานนิทรรศการที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

บันทึกครั้งที่ 3

วันศุกร์ ที่ 12 พฤศจิกายน 2553

*นัดเรียนชดเชยจากการเรียนในวันปกติ
อาจารย์อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทำ Blog ที่ถูกต้อง
การทำบล็อก
องค์ประกอบของบล็อก
-ชื่อเเละคำอธิบายบล็อก
-รูปเเละข้อมูลผู้เรียน
-ปฏิทินเเละนาฬิกา
-ลิงก์ผู้สอน,เพื่อน,หน่วยงานสนับสนุน,งานวิจัยคณิตศาสตร์,บทความ
-สื่อ : เกม,เพลง,นิทาน,แบบฝึกหัด


1. คณิตศาสตร์มีความมสำคัญกับชีวิตประจำวัน หรือไม่
ถ้ามี........สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันอย่างไร ?
ตอบ มี เพราะคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เเละมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เช่น เวลา , การคิดอย่างมีเหตุผล , การจัดประเภท , การจับคู่ , การตัดสินใจ , การคาดคะเนปริมาณ , การเปรียบเทียบ , ทิศทาง , การนับ , ขนาด , เงิน , รูปทรง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องชีวิตเราเเล้วเกี่ยวกับคณิตศาสตร์